Sunday, March 30, 2008

หลักการปฏิบัติวิปัสสนาการรมฐานโดยย่อ





หลักสำคัญของวิปัสสนา
(ข้อมูลจากสำนักต้นตำรับพองหนอ-ยุบหนอ (พม่า) โดยชยานนท์ วูวนิช)
หลักสำคัญ ที่ผู้ปฏิบัติธรรม จะต้องเข้าถึงและเข้าใจอย่างถ่องแท้คือปรากฏการณ์ของกาย (รูป)
และใจ (นาม) 3 อย่างดังนี้
1) สภาวะลักษณะ : ลักษณะพิเศษเฉพาะของปรากฏการณ์ธรรมชาติของกาย ( รูป) และใจ (
นาม)
2) สังขตะลักษณะ : ลักษณะ ต้น กลาง ปลาย ของปรากฏการณ์ทั้งหมดของ กาย ( รูป) และใจ
( นาม)
3) สามัญลักษณะ : ลักษณะสากลทั่วไปของปรากฏการณ์ทั้งหมดของกาย ( รูป) และใจ (
นาม) ( ความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความไม่มีเรา)
1) สภาวะลักษณะ ลักษณะพิเศษเฉพาะของปรากฏการณ์ธรรมชาติ ของกาย (รูป) และใจ (นาม)
มีดังนี้ ธาตุใหญ่ 4 (มหาภูตรูป)
1.1 ปฐวี (ธาตุดิน) มีลักษณะพิเศษ คือ อ่อนแข็ง
1.2 เตโช (ธาตุไฟ) มีลักษณะพิเศษ คือ เย็น ร้อน (อุณหภูมิ)
1.3 วาโย (ธาตุลม) มีลักษณะพิเศษ คือ เคลื่อนไหว สั่นสะเทือน พัดไปมา เคร่ง ตึง แน่น
ผลักดัน เบา เป็นต้น
1.4 อาโป (ธาตุน้ำ) มีลักษณะพิเศษ คือ เกาะกุม (ทำให้) เหนียว ซึ่งเป็นสภาวะทางกาย
(สำหรับอาโปธาตุนั้นเห็นได้ยาก และมักผสมอยู่กับธาตุอื่น) ส่วนสภาวะทางจิต เช่น การ
โกรธ มีอาการดุร้าย เดือดดาล ความโลภ มีสภาวะจิตที่ยึดติด ส่วนอาการเครียด อาการ
ฟุ้งซ่าน อาการง่วง อาการเหม่อลอย จะมีอาการเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของมัน
การปรากฏชัดของธาตุนั้น แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน สำคัญอยู่ที่การกำหนดและสังเกตุรู้อาการ
ของสภาวะธาตุนั้น ๆ การกำหนดสภาวะโดยปราศจากความคิด วิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ คิดหาเหตุผล
และทดลอง จะช่วยให้ได้ผลดี มีประสบการณ์ที่ก้าวหน้ารวดเร็ว ต้องกำหนดรู้อาการปัจจุบัน ที่
2
สะท้อนที่เกิดขึ้นเอง และรู้สึกสัมผัสด้วยประสบการณ์ของตนเองโดยตรง เช่น ถ้าท่านจับน้ำแข็ง จะ
รู้สึกว่าเย็นไม่ใช่คิดหรือพิจารณาวิเคราะห์ว่าเย็น
ขณะปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีวิริยะ ขยันกำหนด และสังเกตุอาการของธาตุต่าง ๆ อย่าง
ต่อเนื่องไม่ขาดสาย เป็นเวลาหลายวัน หลายเดือน หรือหลายปี แล้วแต่บารมีของแต่ละคน โดยมี
อาจารย์ที่เชี่ยวชาญจริง ๆ คอยช่วยแต่งอินทรีย์ให้ การกำหนดรู้อาการนี้ ควรทำต่อเนื่องประมาณวัน
ละ 20 ชั่วโมง จนกระทั่งอินทรีย์ 5 (ศรัทธา วิริยะ สมาธิ สติ ปัญญา) มีความแก่กล้าแล้ว ย่อมจะเห็น
สภาวะธาตุอย่างแท้จริงของตนเอง ต่อจากนั้น ปรากฏการณ์ของ 2) สังขตะลักษณะ ก็จะเกิดขึ้นคือ
เห็นต้น กลาง ปลาย ของรูป และนาม หรือเรียกตามพระบาลี อุปปาทะ-ฐิติ -ภังคะ (เกิดขึ้น - ตั้งขึ้น -
ดับไป) ของอาการปรากฏในรูปนามที่กำหนดอยู่ ในขณะนั้นเอง ผลสืบเนื่องอันดับต่อไปคือ 3)
สามัญญลักษณะ ( พระไตรลักษณ์) จะปรากฏติดต่อขึ้นทันที คือ การเห็นอนิจจลักษณะ (อาการเกิด
ดับ) ทุกขลักษณะ (อาการที่เป็นทุกข์ทนได้ยาก) อนัตตลักษณะ ( อาการที่ไม่เป็นไปตามอำนาจ
บังคับบัญชาของผู้ใด) เมื่อสามัญญลักษณะ เกิดขึ้นแล้ว วิปัสสนาญาณก็จะปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน
สรุป เมื่อสภาวะลักษณะเกิดขึ้นแล้ว สัขตะลักษณะก็จะเกิด,
เมื่อสัขตะลักษณะเกิดขึ้นแล้ว สามัญญลักษณะก็จะเกิด,
เมื่อสามัญญลักษณะเกิดขึ้นแล้ว วิปัสสนาก็บังเกิดขึ้น,
เมื่อวิปัสสนาชั้นสูงเกิดขึ้นแล้ว มรรค ผล นิพพาน ก็จะเกิดขึ้นในที่สุด ซึ่งเป็นเป้าหมายสุด
ยอด ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หากปฏิบัติได้ถูกวิธี ดังจะได้อธิบาย ในหัวข้อ
ต่อไป
ตัวอย่าง ในการปฏิบัติธรรม เช่น กำหนด พอง – ยุบ หรือเดินจงกรมนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะเห็น
ปรากฏการณ์ 3 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1) ลักษณะของรูปร่างบัญญัติ (shape) เช่นรูปร่างท้อง ทรวดทรงท้อง รูปทรงของเท้า เป็นต้น
2) ลักษณะของท่าทางบัญญัติ (manner) เช่น ท่าทาง ยืน เดิน นั่ง นอน
3) ลักษณะของสภาวะธาตุ (element) คือรู้สึกในอาการที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของ ดิน
น้ำ ไฟ ลม เช่น อาการคลื่นสั่นสะเทือน แกว่ง ส่าย นิ่ม แข็ง เย็น ร้อน แน่น เคร่งตึง ฯลฯ
โดยปกติ ผู้ปฏิบัติธรรมจะเห็นแต่ลักษณะที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นอารมณ์บัญญัติ แต่จุดประสงค์
ของวิปัสสนานั้นต้องการให้เห็นลักษณะที่ 3 คือ ลักษณะของสภาวะธาตุ ซึ่งเป็นปรมัตถธรรมที่
แท้จริง ชั่วขณะที่ผู้ปฏิบัติธรรมรู้และเข้าใจ สภาวะลักษณะที่ชัดเจนแล้ว (ปรมัตถสภาวะปรากฏชัด
3
ขึ้น บัญญัติอารมณ์ก็จะหายไป) ผู้ปฏิบัติธรรมก็จะเข้าใจปรากฏการณ์ของธรรมชาติล้วน ๆ ที่ไม่มี
“เรา” สักกายะก็พลอยหมดไปด้วยชั่วขณะนั้นเอง (แต่สักกายะทิฏฐิ จะถูกทำลายโดยสิ้นเชิงด้วยโส
ตาปัตติมรรคเท่านั้น?) ผู้ปฏิบัติไม่ควรคิด พิจารณา วิเคราะห์ นึก เดา สืบหา สภาวะ ๆ ทั้งสิ้น เพราะ
วิปัสสนาแท้ คือ ปรากฏการณ์ที่รู้เอง เห็นเอง อย่างมหัศจรรย์ และเป็นธรรมชาติ
เพราะฉะนั้น สรุป หลักการคือ การกำหนดรู้อาการด้วย ? ถ้ากำหนดอย่างเดียวจะไม่มีประโยชน์
และไม่มีความหมายในวิปัสสนา วิปัสสนาเป็นเรื่องของทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งผู้
ปฏิบัติธรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกำหนด รู้อาการ (ประสบการณ์สัมผัส) และเข้าใจปรากฏการณ์
ธรรมชาติของกายและใจ ทั้ง 6 ทวารอย่างแท้จริง ในที่นี้หมายถึง เห็นลักษณะที่เป็นสภาวะ1 และ
เห็นลักษณะทั่ว ๆ ไป2 คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป พร้อมกับเห็นความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความไม่
น่าอยู่ในบังคับบัญชา ซึ่งในที่นั้นไม่มีใครผู้ใด เข้ายึดเป็นเจ้าของได้ ในขณะเดียวกันไม่ใช่ “เรา” อยู่
ในนั้น เพราะมันเป็นแต่เพียง “ธาตุ” จึงเป็นการเห็นสัจจธรรมคือ พระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา) อย่างแท้จริง
1. สภาวะ หมายถึง สภาวะของธาตุ
2. ลักษณะทั่ว ๆ ไป หมายถึง สามัญญลักษณะ (ความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความไม่อยู่
ในบังคับบัญชา)
หลักการปฏิบัติวิปัสสนาโดยย่อ
1) การนั่ง – การเดินจงกรม หลักการปฏิบัติควรใช้วิธีที่เป็นธรรมชาติ จึงจะเห็นธรรมชาติ (ปรมัติถ
ธรรม) อย่างแท้จริง พยายามกำหนดและตามรู้อาการอย่างละเอียด แม่นยำ สมบูรณ์ และต่อเนื่อง
ที่สุด ของอาการปรากฏแต่ ต้น –กลาง – ปลาย โดยปราศจากการรบกวนหรือบังคับ และการใช้
ความคิด ท่านควรสังเกตสภาวะลักษณะของธาตุทั้ง 4 เช่น อาการ พอง – ยุบ อาจมีคลื่น แกว่ง สั่น
แน่น เบา ส่วนอิริยาบถเดิมนั้น ในขณะยกเท้า อาจจะมีเบา หนัก ร้อน ฯลฯ เป็นต้น
หลักการจับสภาวะคือ
1) เล็งเป้าให้แม่นยำ
2) วิริยะ (ทางจิต) ต้องมีความตั้งใจส่งกำลัง แรงกล้า เพียงพอ และต่อเนื่อง (ไม่เบาไป และไม่
แรงไป) เพื่อ ทิ่ม เจาะ (แทง ทะลุ) ลงไปที่เป้าหมาย เช่นพองหนอ ยุบหนอ ท่านควรส่งกำลัง ทิ่ม
เจาะ ดิ่งลึกลงไป เพื่อ จับ มัด เกาะติดกับอาการเคลื่อนไหวของพอง - ยุบ (ต้น กลาง ปลาย) ตลอด
4
สาย ปัญหาการจับสภาวะไม่ได้ ที่เกิดขึ้นอยู่ทั่วไปในขณะนี้คือ ขณะที่กำหนด พอง - ยุบอยู่นั้น จิต
ของผู้ปฏิบัติธรรมมักจะอยู่ในภวังค์ ง่วงนอน ซึม มีความคิดไหลเข้าไหลออก ฟุ้งซ่าน
กระสับกระส่าย เป็นต้น ข้อ 1) คือเล็งแม่น และข้อ 2) วิริยะ คือส่งกำลังต่อเนื่องไม่ขาดสายส่งกำลัง
ได้แรงถูกส่วน และสัมพันธ์กันกับการเล็งที่แม่นยำ จะทำให้นั่งได้นาน มั่นคง สภาวะเกิดขึ้นไว ( ใน
ระหว่างนั่งกำหนดอยู่นั้น ท่านไม่ควรขยับเขยื้อนเลย แม้เต่นิดเดียว รวมทั้ง นิ้ว มือ เท้า และลืมตา
จะทำให้เสียสมาธิควรนั่งนิ่งสงบ จนติดเป็นนิสัย)
ขณะที่ท่านกำหนดพองหนอ - ยุบหนอ อยู่หากมีสิ่งรบกวนอื่น ๆ เข้ามาแทรกในระหว่างนั่ง
กำหนดอยู่นั้นท่านไม่จำเป็นต้องทิ้ง พอง - ยุบ ไปกำหนดอารมณ์อื่นที่เข้ามาแทรก เว้นเสียแต่ว่า
อาการเหล่านั้นจะชัดเจนกว่าพอง - ยุบ เช่น ความนึกคิด เสียง เจ็บ เมื่อย ฯลฯ จึงย้ายไปตามกำหนดรู้
อาการเหล่านั้น จนกว่าจะจางหายหรือหมดไป แล้วจึงจะกลับมาที่ฐาน (หลัก) คือพอง - ยุบ หาก
ท่านกำหนดเสียง หรือคิด ฯ ลฯ อยู่ และสภาวะนั้นยังไม่จางหายหรือหมดไป แล้วท่านรีบดึงกลับมา
ที่ฐาน (หลัก) คือ พอง - ยุบ ก็จะกลายเป็นสมถะไปและจะไม่เข้าใจการทำงานของสภาวะธรรมของ
มันอย่างแท้จริง เพราะ “ความคิดเรา” ( สักกายะทิฏฐิ) คิดว่า พอง - ยุบ ดีกว่าปรากฏการณ์อื่น ๆ และ
“เรา” เป็นผู้ไปบังคับบัญชา สภาวะนั้น ๆ สำหรับวิปัสสนาเป็นการกำหนดรู้ สภาวะธรรมที่เข้าทาง
6 ทวาร ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ทวารใดมีสภาวะชัดเจน ให้กำหนดที่สภาวะนั้น ๆ และทุกครั้งที่
กำหนดย่อมได้ศีล- สมาธิ- ปัญญา เท่ากันหมด
การเดินจงกรม ควรเดินช้า ๆ เป็นธรรมชาติ ไม่ควรยกเท้าสูงเกินไป หรือหยุดรอกลางอากาศ (หยุด
แค่แว่บเดียว) ถ้าหยุดนานจะทำให้ขาเกร็งสั่น เสียสภาวะ ความนึกคิดจะเข้า ฯลฯ ถ้าท่านสังเกตุ
ความรู้สึกการเคลื่อนไหวอย่างละเอียด ก็จะเห็นกระบวนการเคลื่อนไหว ที่มีกระแสการเกิดดับที่ถี่
และต่อเนื่องมาก กระบวนการเหล่านี้สักแต่เป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติล้วน มีแต่สภาวะธาตุ (
การเกิดดับอย่างต่อเนื่องนั้นมีสภาพคล้ายกับกระแสอิเล็กตรอน) ซึ่งในที่นั้นไม่มี “เรา” เป็นเจ้าของ
อยู่
อิริยาบทย่อย พระวิปัสสนาจารย์ต้นตำหรับ พองหนอ- ยุบหนอ จะเน้นและสอบอารมณ์มากเป็น
พิเศษเพื่อให้สภาวะธรรมชาติเกิดขึ้นเร็ว โยคีผู้ปฏิบัติต้องเคลื่อนไหวอิริยาบทให้
1) ช้าที่สุดเท่าที่จะช้าได้ เหมือนคนป่วยหนัก
2) กำหนดให้ต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย และรู้อาการทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหว อย่างละเอียด
ที่สุด ควรสังเกตุอาการของสภาวะธาตุ เช่น ร้อน อ่อน แข็ง เคลื่อนไหว คลื่น
5
สั่นสะเทือน หนัก เบา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างแท้จริง โดยปราศจาก
ความคิดปรุงแต่ง
อิริยาบทย่อยคือ หัวใจของวิปัสสนา และเป็นการแต่งอินทรีย์ที่ยอดเยี่ยม
หากการปฏิบัติขาดตอนแล้ว กิเลสนิวรณ์เข้าทำให้การเดิน - นั่งไม่ได้ผล และเสียเวลามาก
2) เวทนา คือการกำหนดรู้ ความสุข - ความทุกข์ - ไม่สุขไม่ทุกข์ เช่น เจ็บปวด เมื่อย ขา
คัน เป็นต้น ท่านไม่ควร ขยับย้ายอิริยาบท ให้ยอมรับ สังเกตและตามดูอาการการทำงานตามหน้าที่
ของมันตามสภาวะที่แท้จริง โดยปราศจากการรบกวน อย่ามีเจตนากำหนดเพื่อบังคับให้มันหาย
หากมีความคิดเข้า ท่านต้องรีบ กำหนด ความคิด ค่อนข้างเร็ว และแรงอย่างต่อเนื่องขันติ ในการ
กำหนดเวทนาต่าง ๆ เป็นประตูของนิพพานเพราะอาการเจ็บ มีอาการที่เด่น และชัดเจนมาก สมาธิ
ตั้งอยู่ได้นาน การกำหนดเวทนานั้นจะได้ ศีล- สมาธิ- ปัญญา ดีมาก อุปมา เหมือนเพื่อนรักสนิทของ
ท่านที่อยู่ใกล้ชิดอย่างแนบแน่น และไม่ทิ้งท่านไป เมื่อสมาธิดีแล้วอาการเจ็บจะหายไป ความสุขจะ
มาแทนที่ เหมือนนั่งในที่นุ่มสบาย ท่านควรระวังต้องรีบกำหนด สุขหนอ ๆ ๆ เพื่อไม่ให้ติดสุขและ
หลงทางไป ในขณะเดียวกันเมื่อท่านปฏิบัติถึงสมาธิชั้นสูงขึ้นไปอีกซึ่งท่านก็ต้องเอาใจใส่กำหนด
ทุกขเวทนานั้นอีกเช่นเดียวกัน ผู้ปฏิบัติธรรมควรเข้าใจว่า ในการปฏิบัติวิปัสสนานั้นเราจะพบ ทุกข์
( เจ็บ เมื่อย คัน ฯลฯ) มากกว่าสุขเวทนาในขณะแรกเข้าปฏิบัติธรรม เพราะวิปัสสนาต้องการให้เห็น
ทุกขสัจจะอย่างแท้จริง ทุกข์ทรมาน เหล่านี้ สักแต่เป็นกาย ( รูป) และใจ ( นาม) เท่านั้น
3) การกำหนดสภาวะจิต และธรรมมารมณ์ เนื่องจากสภาวะต่าง ๆ ของจิตมีความรวดเร็ว
กว่ากระแสไฟฟ้า เช่น นึกคิด ดีใจ เสียใจ โกรธ ฟุ้งซ่าน เป็นต้น เพราะฉะนั้นการกำหนดรู้อาการ
ต้องรวดเร็ว และมีกำลังต่อเนื่องอย่างละเอียด การกำเริบของกิเลสจะถูกสกัดกั้นให้ยุติลง เช่น
กำหนด คิดหนอคิดหนอคิดหนอ ไม่ใช่กำหนด คิดหนอ…คิดหนอ…คิดหนอ…และกำหนด สุข
หนอสุขหนอสุขหนอ ไม่ใช่กำหนด สุขหนอ…สุขหนอ…สุขหนอ…ท่านต้องกำหนดสภาวะทาง
จิต และอารมณ์ต่าง ๆ ตามความเป็นจริง วิปัสสนาคือการพัฒนาจิต ถ้าท่านกำหนดจิตได้ดี จะมี
สมาธิที่แก่กล้ามาก
การกำหนดสภาวะธรรม ได้แก่นิวรณ์ 5 อุปทานขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 สัจจะ 4 ผู้
ปฏิบัติธรรมควรกำหนดรู้อาการตามสภาวะนั้น ๆ เช่นซึมหนอ ซึมหนอ สงสัยหนอ สงสัยหนอ เป็น
ต้น
ยกตัวอย่าง นิวรณ์ 5 ได้แก่
1) กามฉันทะ ความยินดี พอใจ ในกามคุณอารมณ์ ชอบใจในอารมณ์
2) พยาบาท ความคิดร้าย ขัดเคือง แค้นใจ
6
3) ถีนมิทธะ ความหดหู่ เซื่องซึม ง่วงเหงา หาวนอน
4) อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน ร้อนใจ กระวนกระวาย กลุ้มกังวล
5) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
------------------------------เป็นต้น--------------------------
ธรรมะที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติ
สัมปชัญญะ 4
(ความหยั่งรู้, ความรู้ตัว, ความรู้ชัด ฯลฯ) มีดังนี้
1) สาตถกสัมปชัญญะ 2) สัมปายสัมปชัญญะ
3) โคจรสัมปชัญญะ 4) อสัมโนหสัมปชัญญะ
คำอธิบายอย่างย่อ
1) สาตถกสัมปชัญญะ เช่นขณะที่เรากำลังจะกระทำ หรือพูดอะไร เราต้องพิจารณาก่อนว่ามัน
มีประโยชน์ไหม? แล้วจึงกระทำ หรือพูดในสิ่งที่มีประโยชน์
2) สัมปายสัมปชัญญะ ถึงแม้จะมีประโยชน์จริง ท่านต้องพิจารณาอีกทีด้วยว่ามันจะเหมาะสม
(ถูกกาละเทศะ) หรือเปล่า จึงจะกระทำหรือพูดในสิ่งที่เหมาะสม อันที่ 1 และ 2 นี้ จะมีประโยชน์
มากในการใช้พิจารณาไตร่ตรองทางโลก และชีวิตประจำวัน และในทางปฏิบัติก็ใช้ได้เช่น เมื่อท่าน
อยากนั่งกรรมฐาน หรือเดินจงกรม ท่านก็พิจารณาดูว่าอันไหนมีประโยชน์และเหมาะสมใน
ขณะนั้น หรือ เมื่อท่านเจอสถานที่มีเสียงดังท่านก็จะพิจารณาเลือกสถานที่ปฏิบัติที่ดีกว่าเป็นต้น
โปรดระวังเมื่อท่านลงมือปฏิบัติแล้ว ท่านต้องมีหน้าที่กำหนดรู้อาการเท่านั้น ไม่ต้องพิจารณา
ไตร่ตรองอีกต่อไป
3) โคจรสัมปชัญญะ คือผู้ปฏิบัติธรรม สักแต่มีหน้าที่ขยันกำหนดอย่างไม่หยุดหย่อนในอาการ
ปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ธรรมชาติ ทางกาย และใจ (ทั้ง 6 ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น
กาย ใจ) เช่นการเดินจงกรม ซ้ายย่างหนอ, ขวาย่างหนอ, อยากยกหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบ
หนอ ฯลฯ อิริยาบทย่อยต่าง ๆ เช่น เห็นหนอ ได้ยินหนอ คู้หนอ เหยียดหนอ ก้มหนอ นอนหนอ
ตื่นหนอ หิวหนอ ฯ ลฯ เป็นต้น เมื่อปฏิบัติอย่างไม่หยุดหย่อนแล้ว จะมีสมาธิแก่กล้าขี้น
4) อสัมโนหสัมปชัญญะ เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีสมาธิแก่กล้าแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจ และเห็น
ปรากฏการณ์ของธรรมชาติที่แท้จริง ของ กายและใจ และท่านจะเข้าใจ เหตุและผล ของกาย ( รูป)
7
ใจ( นาม) ยกตัวอย่าง ขณะเดินท่านจะรู้ว่า เดินเป็นรูป ใจที่รู้ว่าเดิน เป็นนาม ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน
และทำให้เข้าใจด้วยว่า เมื่อใจอยากเดิน ทำให้มีการเดิน (นามเป็นเหตุ รูปเป็นผล)
ในขณะนั้น ท่านจะเห็นปรากฏการณ์เกิดขึ้น และดับไป ของรูป-นาม ที่รวดเร็วมาก อย่างต่อเนื่องไม่
หยุด ในที่สุดท่านก็จะเกิดความรู้ ความเข้าใจถึงอนิจจัง (การเกิด- ดับ) ทุกขัง (สภาวะที่ทนอยู่ไม่ได้
นาน น่าเบื่อหน่าย) อนัตตา (ไม่อยู่ในบังคับบัญชา ไม่มี “เรา” อยู่ในนั้น)
วิธีรายงานอารมณ์ (โดยย่อ)
1) อิริยาบทย่อยทั้งวันที่ผ่านมา ท่านสามารถเคลื่อนไหวช้า และกำหนดต่อเนื่องได้ดีไหม?
(ต้องรายงานมาก)
2) อาการพอง- ยุบ อาการเดิน จับสภาวะได้ไหม?
3) รักษาทวารตาได้หรือไม่? (ต้องรายงานมาก)
4) ความนึกคิด และสภาวะทางจิตกำหนดได้หรือไม่?
5) เวทนา กำหนดได้ดีหรือไม่?
6) มีอารมณ์ทางทวารทั้ง 6 เกิดขึ้นหรือไม่? อย่างไร? กำหนดทันหรือไม่? ถ้ากำหนดทันได้
ปรากฏการณ์อะไร?
7) รายงานประสบการณ์ตามความเป็นจริง ไม่คิดเดา รายงานอาวรณ์อันที่จำได้ และชัด พระ
อาจารย์จะได้ช่วยเหลือได้ตรงจุด
8) การส่งอารมณ์ควรพูดเฉพาะเนื้อหาสาระประเด็นที่สำคัญ ๆ เท่านั้นเหมือนส่ง “โทรเลข”
เพื่อให้พระอาจารย์จะได้มีเวลาสอบอารมณ์คนอื่นต่อไป
ข้อควรระวัง
1) ไม่ควรพูดคุยกันเลยในระยะที่เข้าปฏิบัติธรรม เพราะจะเป็นสาเหตุสำคัญยิ่งยวด ที่ทำให้ผู้
ปฏิบัติธรรม ฟุ้งซ่าน อาวรณ์รั่ว สภาวะตกอย่างรวดเร็ว ท่านอู จานาก้า เน้นเสมอว่า การคุยกันแม้
เพียง 5 นาที ก็สามารถทำลายสมาธิไปได้ถึง 1-3 วัน (ทุก 1 นาที ที่ขาดการกำหนด กิเลสสามารถเข้า
ได้ประมาณ 60 ตัว ดังนั้น 5 นาทีที่ไม่มีการกำหนด กิเลสก็เข้าหมดประมาณ 300 ตัว) ควรปรึกษา
เฉพาะพระวิปัสสนาจารย์และล่ามเท่านั้น (อย่างมีสติขณะพูด)
2) การรักษาทวารทาง “ตา” หรี่ตาครึ่งหนึ่ง ทอดสายตาลงต่ำตลอดเวลา ระยะประมาณ 1 เมตร
อย่าก้มคอ (จะเมื่อย) และไม่ต้องเหลียวซ้าย แลขวา กิเลสเข้าทางตามากที่สุด รักษายากที่สุด และมัก
เป็นปัญหาใหญ่ในการแก้ไข
8
3) วางภาระทางโลกทั้งหมด ชั่วระยะที่เข้าปฏิบัติ ขอให้งดการเขียน-อ่าน ตอบจดหมาย ฯลฯ
จะทำให้กิเลสเข้า ยกเว้นการจดรายการธรรมะ (อย่างมีสติ)
4) การเคลื่อนไหวอิริยาบทย่อย ให้ช้ามาก และต่อเนื่องตลอด ในทุกสถานที่ โดยเฉพาะ
อิริยาบทรับประทานอาหาร และอิริยาบทเดินไป ส่งอาวรณ์ จะต้องเดินจงกรมช้า ๆ และละเอียด
มาก
5) ขณะรับประทานอาหารช้ามาก ๆ ค่อย ๆ ยกมือขึ้นช้า ๆ หยิบช้อนขึ้นช้า ๆ ค่อย ๆ เอื้อมไป
ตักอาหารช้า ๆ และคู้เข้าเช้า ๆ ส่งอาหารถึงปากช้า ๆ ค่อย ๆ อ้าปาก และส่งอาหารเข้าปากช้า ๆ ค่อย
ๆ ลดช้อนลงวางมือจากช้อนช้า ๆ ค่อย ๆ เคี้ยว กำหนด เคี้ยวหนอ เคี้ยวหนอ จนกระทั่งกลืนผ่านคอ
ก็ให้กำหนดว่ากลืนหนอ กลืนหนอ กลืนหนอ เป็นต้น พยายามสังเกตุและเพิ่มรายละเอียดมากขึ้น ๆ
เพราะโลภะกิเลสมักเข้ามากในขณะทานอาหาร
6) ขณะกราบพระ ค่อย ๆ กราบลง ให้กำหนด ลงหนอ ลงหนอ ลงหนอ ช้าเป็นพิเศษ และ
สังเกตอาการเคลื่อนไหวของมือตลอดสาย (กำหนดประมาณ 20-30 ครั้ง) จนกว่าจะวางฝ่ามือลง
สัมผัสพื้น เมื่อถูกพื้นแล้ว รู้อาการเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ของพื้นนั้น ก็ต้องกำหนดรู้สภาวะด้วย และ
เมื่อยกฝ่ามือขึ้นจากพื้น ต้องกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหว (ประมาณ 20-30 ครั้ง) ยกหนอ ยกหนอ ยก
หนอ จนกราบครบ 3 ครั้ง เป็นต้น (ใช้เวลา 1-2 นาที)
7) ระวังพระอาจารย์แอบดู การกำหนดของท่านทุกอิริยาบททั้งวัน
8) ไม่ควรรู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องญาณสภาวะ เช่น การอ่าน สอบถาม หรือฟังเทปคำบรรยาย
เรื่องญาณเพราะจะทำให้เกิดอุปาทาน & อุปกิเลส เป็นความคิดที่หลอนตัวเอง ซึ่งเป็นปัญหาทั่วโลก
อยู่ขณะนี้ ขณะปฏิบัติไม่ควรคิด ห่วง หา รอ คาดหมาย มุ่งหวัง หรือคาดการณ์ล่วงหน้าว่าญาณ
อะไรจะเกิดขึ้นกับเรา การรอสภาวะนี้จะเป็นตัวทำลายสมาธิ ปิดกั้นหาทางให้ผู้ปฏิบัติไปไม่ถึง
จุดหมายปลายทาง (รู้วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ดีกว่า หาผลลัพธ์ อุปมา หัดบวกเลข ดีกว่ารอคำตอบ)
สำหรับที่พม่า ซึ่งเป็นต้นตำรับนั้น จะไม่ให้ผู้ปฏิบัติสนใจเรื่องญาณเลย กรณีที่ผู้ปฏิบัติผ่านญาณ
ชั้นสูง พระอาจารย์จะตรวจสอบ “ทวนญาณ” ให้เฉพาะบุคคล การทวนญาณต้องทำ ซ้ำกันหลาย
ครั้งจนเป็นที่แน่ใจ จึงจะอนุญาตให้เข้าฟังลำดับญาณ หรือฟังเทปอย่างเป็นความลับเฉพาะตัว (บาง
กรณี พระอาจารย์อาจเทศน์เรื่องญาณต้น ๆ บ้าง ในกรณีจำเป็น และมีประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติธรรม)
อยากได้พระนิพพาน
บางคนที่มาเข้ากรรมฐาน ใจน้อมมาว่า อยากจะเข้าวัดเข้าวาเพื่อทำกรรมฐาน ทำกรรมฐาน
ทำไม เพราะอยากได้พระนิพพาน อยากจะพ้นทุกข์ ใจน้อมมาแบบนี้ครั้งแรกถือว่า พอใช้ได้ ครั้นมา
เข้ากรรมฐานจริง ๆ แล้ว นั่งกำหนดว่า “พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ” อยู่อย่างนี้ ครบเวลา
9
30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ก็มาตั้งจิตอธิฐานว่า ด้วยวิปัสสนาภาวนากุศลนี้ ขอให้ถึงพระนิพพานเร็ว ๆ
เถิด..ด…ด… แล้วลุกขึ้นเดินจงกรมต่อ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ครบเวลาที่กำหนดก็มานั่งอธิฐาน
อีกว่า “ด้วยวิปัสสนาภาวนากุศลนี้ ขอให้ถึงพระนิพพานเร็ว ๆ เถิด..ด…ด…” ทุกเวลาคอยจ้องแต่อธิ
ฐานอยู่เรื่อย แย่แล้ว ไม่จำเป็นต้องอธิฐานเลย ครั้งแรกจิตน้อมขึ้นมาอธิฐานพอใช้ได้ นามลกฺขณํ
นาม นามนี้มีลักษณะน้อมอารมณ์ หน่วงอารมณ์อยู่เสมอ นามนี้น้อมอารมณ์ขึ้นมา น้อมเพียงครั้ง
แรกก็พอ ไม่ใช่ว่าทุกครั้งคอยจ้องอยู่ อันนี้เกิด นิกนฺติ ชอบใจติดใจ เกิดเป็น ธมฺมราค ธมฺมรติ ชอบ
ธรรมะ ติดธรรมะ คอยธรรมะอยู่ เกิดเป็นธรรมราคะ หรือธรรมตัณหาขึ้นมา ยิ่งมาปฏิบัติ ยิ่งอยากได้
กรรมฐานมาทลายความอยาก มิใช่มาเพิ่มความอยาก ฉะนั้นไม่ต้องคอยจดจ้องอยู่ ต้องการพระ
นิพพานให้เป็น ธรรมฉันทะ คือความพอใจในธรรม มุ่งไว้แต่ครั้งแรกก็พอ ไม่ต้องอธิฐานอยู่เรื่อย ๆ
มรรคผลนิพพานนี้อธิฐานได้เสียที่ไหน ถ้าอธิฐานแล้วได้จริง ๆ ทุกคนก็ไม่ต้องมาเข้าวัดเข้าวาทำ
กรรมฐานกัน อยู่ที่บ้านแล้วนั่งอธิฐานว่า “ขอให้ถึงพระนิพพานเร็ว ๆ เถิด” ได้พระนิพพานกันหมด
ในโลกนี้ก็จะไม่มีคนอยู่ สัตว์ก็ไม่มี พากันไปนิพพานกันหมด ต้องระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่า พระองค์
ทรงบำเพ็ญบารมีมาเท่าไหร่ จึ่งจะสามารถบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ มิใช่บรรลุได้โดยง่าย
หากอยากได้นิพพานก็ให้เป็นเป้าหมาย มุ่งหวังเอาไว้ แล้วมาเข้ากรรมฐานปรารภความเพียร หลาย
วัน หลายเดือน หลายปี แล้วแต่วาสนาบารมีปัจจัย เมื่อปฏิบัติถึงที่บารมีเต็มเปี่ยมแล้ว ก็จะสามารถ
บรรลุมรรคผลนิพพานได้ มีพระนิพพานเป็นสมบัติ ก็จะสมความปรารถนาเอง
นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย วิริยารมฺภา โหนตุ
จงเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อทำพระนิพพานให้แจ่มแจ้งเถิด
เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

No comments: