Sunday, March 30, 2008

ทางสู่ความสุข




คนเราทุกคนต้องการมีความสุข จะต้องทำอะไร และควรดำเนินชีวิตอย่างไร จึงจะมี
ความสุข? เรื่องนี้ทุกคนควรรู้ พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาต่อปวงประชาสัตว์ จึงตรัสสอน
“ทางสู่ความสุข” ไว้แก่เราทั้งหลาย
ความสุขมี ๒ ชนิด คือ ๑. ความสุขในชีวิตนี้
๒. ความสุขในชีวิตหน้า
ความสุขในชีวิตนี้
ความสุขในชีวิตนี้ อาจหาได้ด้วย สัมปทา ๔ คือ
๑. อุฏฐานะสัมปทา - มีความขยันหาทรัพย์
๒. อารักขะสัมปทา - มีความระวังรักษาทรัพย์
๓. กัลยาณะมิตตะตา - มีเพื่อนดี
๔. สมะชีวิตา - ประกอบอาชีพโดยชอบ
ใน ๔ อย่างนั้น....
๑. อุฏฐานะสัมปทา หมายถึง มีความกระตือรือร้น ขยันหมั่นเพียรในการทำธุรกิจการ
งาน งานอะไร ๆ ที่ท่านทำอยู่ เป็นงานกสิกรรม พาณิชยกรรม รับราชกรรม งานรับจ้างอื่น ๆ อย่าง
ใดอย่างหนึ่ง หรืองานการศึกษาก็ตาม ท่านควรใช้ความสามารถของท่านทำงานนั้น ๆ ด้วยความ
ขยันหมั่นเพียร ถ้าท่านทำงานการเช่นกล่าวนี้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร ท่านจะได้รับผลตอบแทน
โดยสมควรแก่งาน เรื่องนี้ก็เป็นที่รู้จักกันดีพอสมควรอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องบรรยาย
๒. อารักขะสัมปทา หมายถึง การระมัดระวังคอยดูแลรักษาเพื่อมิให้ทรัพย์สมบัติทาง
โลกของเราที่มีอยู่ ต้องสูญหายไป เรื่องนี้ก็เป็นที่รู้จักดีพอสมควรแล้วเช่นกัน
2
๓. กัลยาณะมิตตะตา มีเพื่อนดี หมายถึง การคบหาสมาคมกับเพื่อนดี คือ เพื่อนซึ่ง
สามารถช่วยเหลือท่านในการทำธุรการงานเพื่อความเป็นดีอยู่ดีของท่าน การที่มีเพื่อนดีเช่นนี้ เป็น
เรื่องสำคัญมาก เพราะว่า การที่ท่านมีความเกี่ยวข้องติดต่อกับคนทั้งหลายอื่นนั้น ควรดำเนินไปด้วย
ความเมตตา คือ ความรัก – ความปรารถนาดีตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อนที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่มี
คุณธรรม คือ ศรัทธาความเชื่อหนึ่ง ศีล-ความประพฤติดีหนึ่ง และจาคะ-ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่หนึ่ง
รวมทั้งปัญญา-ความรู้หนึ่ง เพราะว่าเพื่อนบกพร่องศรัทธา ศรัทธาของท่านก็อาจบกพร่องไปด้วย ถ้า
เพื่อนย่อหย่อนในศีล คือ ความประพฤติดี ศีลของท่านก็อาจย่อหย่อนไปด้วย ถ้าเพื่อนผู้นั้นไม่มี
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และไม่ฉลาดในเรื่องธรรมะ ท่านก็อาจบกพร่องในความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมี
ปัญญาบกพร่องไปด้วย
๔. สมะชีวิตา - ประกอบอาชีพโดยชอบ หมายถึงการดำเนินชีวิตโดยสุจริต หรือ
ดำรงชีวิตภายในวิถีทางที่ชอบ ท่านควรใช้จ่ายให้น้อยกว่ารายได้ โดยไม่ใช้จ่ายให้มากกว่ารายได้ที่
หาได้ และถ้าเป็นไปได้ ท่านควรกำหนดแบ่งรายได้ของท่านออกเป็น ๔ ส่วน แล้วเก็บรักษาส่วนที่
๔ ไว้ ใช้แต่ส่วนนอกนั้น มีตัวอย่างบุคคลมากมายหลายคนที่ดำเนินชีวิตโดยวิธีนี้ แล้วกลายเป็นคน
มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ
มีบุคคลหลายคนที่กลายเป็นเศรษฐีไป โดยดำเนินชีวิตตามสัมปทา ๔ ดังกล่าวมาข้างต้นนี้
เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นคนมั่งคั่ง และมีความสุขสบาย คนเราจะต้องพยายามดำเนินชีวิตตามสัมปทา
คือ สัมปทา ๔ ที่กล่าวนี้
ความสุขในชีวิตภายหน้า
แต่การมีความสุขในชีวิตภายหน้าตลอดไปในสังสารวัฏคือ การเวียนเกิดเวียนตาย เป็นเรื่อง
สำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งกว่าการมีความสุขในชีวิตปัจจุบันนี้ เพราะฉะนั้น เพื่อท่านจะได้เป็นผู้มีความสุข
ไปตลอดการเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนสัมปทาอีก ๔ อย่าง ไว้แก่
เรา สัมปทา ๔ อย่างนั้น คือ
๑. สัทธาสัมปทา - มีความเชื่อ
๒. สีละสัมปทา - มีศีล
๓. จาคะสัมปทา - มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
๔. ปัญญาสัมปทา - มีปัญญา
ใน ๔ อย่างนั้น (ขออธิบายเฉพาะ) สัทธาสัมปทา คือ ความเชื่อในสิ่งที่คนเราควรเชื่อ
ถามว่า – คนเราควรมีความเชื่อในเรื่องอะไร?
ตอบว่า – คนเราควรมีความเชื่อในพระพุทธเจ้าที่แท้จริง ในพระธรรมที่แท้จริง ในพระสงฆ์
ที่แท้จริง และในกรรมและผลของกรรม
3
พระพุทธเจ้าที่แท้จริง มีพระคุณ ๙ อย่าง คือ อระหัง เป็นพระอรหันต์ อระหัง หมายถึงท่าน
ผู้สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสทั้งปวง คือ ไม่มีราคะ ... โทสะ เป็นต้น สัมมาสัมพุทธะ หมายถึง
ท่านผู้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง พุทธะ หมายถึง ท่านผู้มีพระคุณด้วยความรู้
ในธรรมทั้งปวงด้วยพระสัพพัญญุตญาณ และตรัสสอนอริยสัจ ๔ เพื่อให้สรรพสัตว์ได้ตรัสรู้อริยสัจ
เหล่านั้นด้วย เมื่อทรงประกอบด้วยพระคุณทั้ง ๓ ประการนี้แล้ว พระคุณอื่นอีก ๖ ประการก็มี
ตามมา ก การมีการเชื่อในพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระคุณเหล่านี้ เป็นศรัทธาที่แท้จริง และการมีศรัทธา
เช่นว่านี้เป็นสัทธาสัมปทา
พระธรรมที่แท้จริง คือ โลกุตรธรรม ๙ ประการ ซึ่งประกอบด้วยพระอริยมรรค ๔ และพระ
อริยผล ๔ กับพระนิพพาน ๑ และรวมเอาคำสอน (คือ พระปริยัติ) ซึ่งชี้ทางให้เราทั้งหลายได้ตรัสรู้
พระธรรม ๙ เหล่านั้นด้วย รวมทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นพระธรรมที่แท้จริง
พระสงฆ์ที่แท้จริง คือ หมู่พระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ดำเนินตามข้อปฏิบัติแห่งศีล สมาธิ
ปัญญา เพื่อพ้นพิเศษไปจากกิเลสทั้งปวง มีราคะ และโทสะ เป็นต้น
ความเชื่อในพระธรรมที่แท้จริงและในพระสงฆ์ที่แท้จริง เป็นความเชื่อที่แท้จริง การมี
ความเชื่อเช่นกล่าวนี้ ก็เป็น สัทธาสัมปทาด้วยเหมือนกัน
ความเชื่อในกรรมและผลของกรรม คือ เชื่อว่ากรรมชั่ว คือ การทำชั่ว นำมาซึ่งผลชั่ว และ
กรรมดี คือการทำดีนำมาซึ่งผลดี ก็เป็นศรัทธาที่แท้จริง และการมีความเชื่อเช่นนี้ก็เป็น สัทธา
สัมปทาเหมือนกัน การมีความเชื่อในกรรมและผลของกรรม เป็นความเชื่อที่สำคัญมาก ถ้าคนเราไม่
เชื่อในกรรมและผลของกรรม และไปเชื่ออย่างผิด ๆ ว่า มีผู้หนึ่งผู้ใดคอยช่วยเหลือเรา หรือเชื่ออย่าง
ผิด ๆ ว่า คนเราจะไม่ทำกรรมดีและกรรมชั่วด้วยตัวเองก็ได้ เพราะมีผู้ทรงมหิทธานุภาพเป็นผู้คอย
จัดแจงผลดีชั่วสำหรับสัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวงอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้น เมื่อไม่ทำกรรมดีเขาก็จะไม่ได้ชื่นชมความสุข แต่จะประสบอยู่กับความทุกข์
ทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งความทุกข์นั้น ๆ เป็นผลของการทำชั่ว เช่นเดียวกับบุคคลบางคน แทนที่จะ
บริโภคอาหารดี ๆ ที่เหมาะสม แต่กลับบริโภคอาหารเสียบูดเน่า เขาก็ต้องรับทุกข์ด้วยโรคภัยไข้เจ็บ
ในเรื่องของผลดีผลชั่วของกรรมนี้ ข้าพเจ้า (พระอาจารย์มหาสีสะยาดอ) จะเรื่องจริงให้ท่าน
ได้ทราบ เรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์ผู้มั่งคั่งคนหนึ่งชื่อว่าโตไทยะ เป็นปุโรหิตของ
พระเจ้าปเสนทิโกศล อยู่ในพระนครสาวัตถี โตไทยะพราหมณ์ผู้นี้เป็นผู้ร่ำรวยมาก มีทรัพย์สมบัติ
ถึง ๔๗ โกฏิ (ประมาณ ๘๗๐ ล้านดอลล่าร์ หรือ ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท) ท่านพราหมณ์ผู้นี้ไม่เคยให้สิ่ง
ไร ๆ แก่ใครเลย ซ้ำยังพูดแก่ผู้ให้ทานว่า “ถ้าท่านให้ ท่านก็สูญเสียสิ่งที่ท่านมีอยู่ เพราะฉะนั้น อย่า
ก พระคุณอีก ๖ อย่างคือ วิชชาจรณสัมปันโณ ๑ สุคโต ๑ โลกวิทู ๑ อนุตตโร ปรุสทัมมาสารถิ ๑ สัตถาเทว
มนุสสานัง ๑ ภควา ๑ โปรดดูคำแปลในเรื่อง พระรัตนตรัยของนายธนิต อยู่โพธิ์ หน้า ๒๔-๒๕
4
ให้” ครั้นตายลง ด้วยความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งในทรัพย์สมบัติของตน พราหมณ์ผู้นั้นจึงมาเกิดเป็นสุ
นับอยู่ในบ้านของตนเอง
วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จภิกษาจารมายังบ้านนั้น ทรงมีพระพุทธประสงค์เพื่อทรงแสดง
ธรรมที่แท้จริงแก่ชายหนุ่มชื่อสุภะ (หรือเรียกตามพระสูตรว่า สุภะมานพ) ซึ่งเป็นบุตรชายของโต
ไทยะพราหมณ์ สุนัขซึ่งเป็นโตไทยะพราหมณ์ในชาติก่อนนั้นก็วิ่งเข้ามาเห่าพระพุทธเจ้า พระผู้มี
พระภาพเจ้าจึงทรงพูดกับมันว่า “นี่-เจ้าโตไทยะ ในชาติก่อนเจ้าก็เคยแสดงความไม่เคารพต่อเรา
มาแล้ว เจ้าจึงมาเกิดเป็นสุนัขและบัดนี้เจ้ายังมาเห่าเราอีก เพราะกรรมชั่วอันนี้ เจ้าจะไปเกิดในอเวจี
นรก” ครั้นได้ยินดังนี้ สุนัขนั้นก็คิดว่า “พระสมณโคดมรู้จักเรา” รู้สึกไม่สบายใจมาก มันจึงหนีไป
นอนอยู่บนกองขี้เถ้าในครัวไฟ ตามธรรมดาสุนัขตัวนี้เป็นที่โปรดปรานของสุภะมานพ มักจะต้อง
นอนบนที่นอนอันสุขสบายของมันเอง ซึ่งเขาจัดไว้ให้มัน ครั้งสุภะมานพเห็นมันนอนอยู่บนกอง
ขี้เถ้าเช่นนั้น จึงสอบถามคนบ้านก็ทราบเรื่องทั้งหมด
สุภะมานพจึงรำพึงแก่ตนเองว่า “ตามหลักปฏิบัติในศาสนาพราหมณ์นั้น พ่อของเราต้องไป
เกิดเป็นพรหม แต่เมื่อพระสมณโคดมร้องเรียกสุนัขนี้ว่า โตไทยะ ก็เท่ากับเขากล่าวว่า บัดนี้พ่อของ
เรามาเกิดเป็นสุนัข เขาคงพูดคำพูดติดปาก”
สุภะมาณพรู้สึกขุ่นเคืองใจ จึงไปพบพระพุทธเจ้าเพื่อจะกล่าวตำหนิว่า พระพุทธเจ้าพูดเท็จ
เขาถามถึงคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส และพระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกเขาตามที่ทรงพูดกับสุนัขตัวนั้น
ครั้งแล้วทรงมีพระพุทธประสงค์เพื่อที่จะให้มาณพนั้นรู้ความจริง พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า “ยังมี
ทรัพย์สินใด ๆ ที่บิดาของท่านมิได้เปิดเผยให้ทราบบ้างหรือไม่” สุภะมาณพจึงทูลว่า “ยังมีอยู่อีก
ทั้งหมด ๔ แสนเป็นตัวเงิน ๑ แสน และของมีค่า ๓ แสน สูญหายไป” พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกแก่
เขาว่า “ท่านจงกลับไปเลี้ยงอาหารอย่างดีแก่สุนัขตัวนั้น และเมื่อมันนอนก่อนจะหลับ จงถามมันดู
มันจะบอกท่านทุกอย่าง สุภะมาณพก็คิดว่า “ถ้าสมณะโคดมพูดจริง เราก็จะได้ทรัพย์ แต่ถ้าไม่จริง
เราจะสามารถกล่าวตำหนิโทษได้ว่า พระสมณะโคดมพูดเท็จ”
เพราะฉะนั้น สุภะมาณพจึงเลี้ยงอาหารสุนัขนั้นอย่างดี แล้วถามมันตามที่พระพุทธเจ้าทรง
แนะนำ สุนัขนั้นก็นำสุภะมาณพไปยังสถานที่ฝังทรัพย์ไว้ ครั้งได้ทรัพย์นั้นแล้ว สุภะมาณพจึงรำพึง
แก่ตนเอง ว่า “พระสมณะโคดมนี้ รู้ตลอดถึงสิ่งลี้ลับที่ถูกปกปิดไว้ด้วยชาติด้วยภพ พระองค์เป็น
สัพพัญญูผู้รู้ธรรมทั้งปวงโดยแท้จริง” แต่นั้นมา เขาก็เริ่มมีศรัทธาในพระพุทธเจ้า ครั้งต่อมา เขาได้
รวบรวมปัญหาที่ยาก ๆ ขึ้น ๑๔ ข้อ แล้วนำมาเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลถามปัญหา ๑๔ ข้อนั้น
ปัญหา ๑๔ ข้อ ของสุภะมานพนั้น กล่าวโดยย่อ มีดังนี้ .... “ในบรรดามนุษย์ทั้งหลายนั้น
เพราะเหตุไร บางพวกจึงมีอายุสั้น บางพวกมีอายุยืน บางพวกมีโรคภัยไข้เจ็บมาก บางพวกมีโรคภัย
ไข้เจ็บน้อย บางพวกมีโรคภัยไข้เจ็บมาก บางพวกมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย บางพวกมีรูปร่างขี้เหร่ บาง
พวกมีรูปร่างสวยงาม บางพวกเกิดในตระกูลต่ำ บางพวกเกิดในตระกูลสูง บางพวกเป็นคนโง่ บาง
5
พวกเป็นคนฉลาด บางพวกยากจน บางพวกร่ำรวย เป็นเพราะเหตุไร มนุษย์ทั้งหลายจึงมีฐานะต่ำ-สูง
ต่างกัน?”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเหล่านี้ (เป็นคำรวมว่า) “กมฺม สฺสกา มาณเว สตฺตา กมฺมทายา
ทา กมฺโยนี กมฺพนฺธู กมฺมปฏิสรณา กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย”
แปลความว่า
“ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายเป็นเจ้าของแห่งการกระทำของตนเอง เป็นทายาทแห่งการ
กระทำของตนเอง กรรมของตนเองเป็นผู้ให้เกิดมา มีกรรมของตนเองเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมของ
ตนเองเป็นที่พึ่ง การกระทำของตนเองจำแนกสัตว์ทั้งหลาย ให้มีฐานะต่ำ และสูงต่าง ๆ กัน”ข
นี้เป็นพระพุทธดำรัสที่ตรัสถึงวิธีการที่กรรมทำงานโดยย่อ ซึ่งสุภะมานพไม่เข้าใจพระพุทธ
ดำรัสโดยย่อ จึงกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอให้ทรงอธิบายโดยพิสดาร ซึ่งพระองค์ก็ตรัสประทาน แต่
ณ ที่นี้ เราจำต้องกล่าวถึงโดยพิสดารเหมือนกัน แต่เป็นความพิสดารโดยย่อ ดังต่อไปนี้
๑-๒. อายุสั้น และอายุยืน
ถ้าหญิงหรือชายฆ่าสัตว์มีชีวิต ด้วยผลของกรรมการฆ่าสัตว์นั้น หญิงหรือชายผู้ฆ่าสัตว์นั้น
เมื่อตายแล้วเขาจะเกิดในอบายนรก ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์หญิงหรือมนุษย์ชายอีก เขาจะมีอายุสั้น
ส่วนผู้ที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ภายหลังที่ตายแล้วจะเกิดในสวรรค์ของเทวดา ถ้ามาเกิดเป็น
มนุษย์ เขาจะเป็นผู้มีอายุยืน
๓-๔. ความเจ็บป่วยและสุขภาพดี
ผู้ซึ่งทำร้ายคนและสัตว์อื่น จะเกิดในอบาย ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ เขาจะเป็นคนมีโรค เจ็บป่วย
มาก
ถ้าเป็นผู้มีเมตตา ไม่ทำร้ายผู้อื่น เขาจะไปเกิดเป็นเทวดา และถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เขาจะเป็นคน
ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีสุขภาพดี
๕-๖. รูปขี้เหร่ และสวยงาม
ผู้ซึ่งมีความโกรธมาก จะไปเกิดในอบาย ถ้าเขาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีรูปร่างขี้เหร่ ส่วน
ผู้ที่อดกลั้นความโกรธ และมีความอดทน จะไปเกิดเป็นเทวดา ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เขาจะเป็นคนมี
รูปร่างสวยงาม
๗-๘. มีเพื่อนน้อย และมีเพื่อนมาก
ถ้าคนเรามีความริษยาในความสุขสมบูรณ์ และความมีลาภสักการะ ความเคารพนับถือของ
ท่านผู้อื่น เขาจะไปเกิดในอบาย และถ้าเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นคนไร้มิตรสหาย
ข ท่านอาจารย์มหาสีสะยาดอ เก็บใจความโดยย่อมาจากพระสูตร ท่านผู้ต้องการทราบพิสดาร โปรดอ่าน – จูฬกัมม
วิภังคสูตร ม.อุ. ๑๔/๓๗๖-๓๘๕
6
แต่ถ้าเป็นคนไม่มีความริษยา และรู้สึกชื่นชมยินดีด้วยในความสุขสมบูรณ์ของผู้อื่น เขาจะ
ไปเกิดเป็นเทวดา ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เขาจะมีเพื่อนฝูงมาก
๙-๑๐. ความยากจนและร่ำรวย
ถ้าคนเรามิได้ให้ทาน บริจาค และห้ามคนอื่นมิให้บริจาคด้วย เขาจะไปเกิดในอบาย ถ้ามา
เกิดเป็นมนุษย์ เขาจะเป็นคนยากจน
แต่ถ้าเป็นผู้ให้ทานการบริจาค เขาจะไปเกิดเป็นเทวดา เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนมั่งคั่ง
สมบูรณ์ทรัพย์
๑๑-๑๒. เกิดในตระกูลต่ำ และตระกูลสูง
ถ้าเป็นคนเย่อหยิ่ง ไม่แสดงความเคารพอ่อนน้อมต่อท่านผู้ควรเคารพอ่อนน้อม เขาจะไป
เกิดในอบาย ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ จะเกิดในตระกูลต่ำ
ถ้าเขาแสดงความเคารพอ่อนน้ำ ต่อท่านผู้ควรเคารพอ่อนน้ำ จะไปเกิดเป็นเทวดา ถ้ามาเกิด
เป็นมนุษย์ เขาจะเกิดในตระกูลสูง
๑๓-๑๔. ความโง่และความฉลาด
ถ้าเขาไม่เคยศึกษาไต่ถามปัญหาเพื่อให้รู้ว่า “อะไรเป็นความดีและอะไรเป็นความชั่ว” (โดย
ผลของการทำชั่วเมื่อทำหรือพูดสิ่งไม่ควรทำ หรือคำไม่ควรพูดออกไป) เขาจะไปเกิดในอบาย ถ้ามา
เกิดเป็นมนุษย์ เขาเป็นคนโง่
แต่ถ้าเขาศึกษาไต่ถามรู้ความว่า “อะไรเป็นความดี อะไรเป็นความชั่ว อะไรมีโทษ อะไรไม่
มีโทษ อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ การทำชนิดใดจะนำโทษและทุกข์มาให้ตลอดกาลนาน การทำ
ชนิดใดจะนำประโยชน์และความสุขมาให้ตลอดกาลนาน” เช่นนี้ (แล้วทำและพูดแต่สิ่งควรทำและ
ควรพูด) เขาจะเกิดเป็นเทวดา และถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เขาจะเป็นคนฉลาดและมีปัญญา
ทั้งหมดนี้ จัดเป็นการทำชั่ว ๗ ประการ ซึ่งจะนำซึ่งความทุกข์มาให้ และเป็นการทำดี ๗
ประการ ซึ่งจะนำความสุขมาให้แก่ผู้ทำ ณ ที่นี้ ควรทราบว่า เมื่อไม่มีเมตตาคือความมีรัก—
ปรารถนาดี และเมื่อใดมีโทสะและกิเลสอื่น ๆ เข้าครอบงำ การทำชั่ว ๗ ประการก็เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น ถ้าท่านปลูกเมตตา คือ ความรัก-ความปรารถนาดี ให้มีอยู่เป็นประจำแล้ว การทำชั่วก็
จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงต้องการจะพูดถึงการปลูกเมตตา คือความรัก-ความ
ปรารถนาดีไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
เมตตาภาวนา
คนเราทุกคนล้วนปรารถนาให้ตนเองมีความสุขและปราศจากทุกข์ ในเวลาเดียวกันก็
ปรารถนาให้คนอื่น ๆ มีความสงบและอยู่เป็นสุขด้วย เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ดีมากโดยแท้ และไม่มีใคร
สามารถพบเห็นว่าสิ่งเช่นนี้เป็นความชั่วร้าย การปลูกเมตตาก็คือ คิดถึงคนและทวยเทพทั้งหลาย
7
หรือคิดถึงสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะตนหรือโดยส่วนรวม แล้วกล่าวอยู่ในใจว่า “ขอให้เขามี
ความสุข” หรือว่า “ขอให้เขาทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข”
ท่านอาจคิดถึงคน คนใดคนหนึ่งหรือหลายคน ที่ท่านพบเห็นอยู่รอบ ๆ ตัวท่าน แล้วปลูก
เมตตาต่อเขาเหล่านั้นโดยคิดในใจว่า “ขอจงมีความสุข” วิธีนี้ท่านทำเพียงภายในใจของท่านเช่นนั้น
และถ้าเป็นไปได้ ท่านพึงพูดจาช่วยเหลือเขาทั้งหลายด้วยถ้อยคำที่น่ารัก ถ้ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งท่าน
สามารถทำได้ ท่านควรทำสิ่งนั้นช่วยเหลือเขาด้วยตัวท่านเอง ถ้าแม้ท่านมิสามารถช่วยเหลือเขาได้
ด้วยการกระทำทางกาย หรือด้วยถ้อยคำวาจา ท่านควรงดเว้นจากการกระทำสิ่งที่ไม่ควรกระทำ หรือ
คำพูดที่ไม่ควรพูด วิธีนี้เป็นการปลูกเมตตาขึ้นในการกระทำและคำพูด
ถึงแม้ว่า ท่านมิสามารถพบเห็นเขาทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ท่านก็สามารถคิดนึกรำลึกถึงสัตว์
ทั้งหลายทั้งปวง...คิดถึงมนุษย์ทั้งหลาย คิดถึงเทวดาทั้งหลาย คิดถึงสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายและตั้ง
ความปรารถนาว่า “ขอจงมีความสุข” หรือ “ขอเขาทั้งหลายเหล่านั้นจงมีความสุขเถิด” ท่านพึงปลูก
เมตตาขึ้นเฉพาะในใจท่านเท่านั้น ขอให้ท่านทำดังนี้สัก ๕ นาที สัก ๑๐ นาที ครึ่งชั่วโมง หนึ่ง
ชั่วโมง หรือนานกว่านั้น ให้นานเท่าที่ท่านสามารถทำได้ ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี ท่าน
อาจจะไปเกิดในพรหมโลก และมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายในพรหมโลกนั้นตลอดเวลานานหลายกัป
แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงมีพุทธประสงค์ให้พวกเรายินดี พอใจอยู่เพียงในขั้นสวรรค์ชั้นพรหม
เท่านั้น มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านพราหมณ์ผู้เฒ่ามีนามว่า ธนัญชานี ขณะกำลังนอนบนเตียงนอนก่อน
มรณะ รอความตายอยู่ ปรารถนาจะฟังธรรม ได้ส่งคนไปนิมนต์ท่านพระสารีบุตรเถระมาแสดง
ธรรม ท่านพระสารีบุตรก็มาแสดงถึงวิธีปลูกเมตตาและกรุณา เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติ
สามารถไปเกิดในพรหมโลกได้ ครั้นแสดงแล้ว พระเถระก็เดินทางกลับพระวิหารเวฬุวัน ท่านธนัฐ
ชานีพราหมณ์ก็กำหนดเจริญเมตตาภาวนา แล้วสิ้นชีวิตลงในปัจจุบันทันด่วน และด้วยผลของเมตตา
ฌานนั้น เขาขึ้นไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมโลก เวลาตั้งแต่เขาดับจิตแล้วไปเกิดในพรหมโลกนั้น
อาจไม่ถึง ๑ ชั่วโมง เพราะว่าเขาไปเกิดเป็นพรหม ก่อนท่านพระสารีบุตรกลับถึงเวฬุวันวิหาร ครั้ง
ท่านพระสารีบุตรกลับมาถึงพระวิหารและเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงตำหนิท่านพระสารี
บุตรว่า ไม่สอนวิปัสสนาภาวนาให้แก่พราหมณ์ ไปสอนให้แต่เพียงเมตตาภาวนา ซึ่งสามารถนำไป
เกิดในชั้นพรหมเท่านั้น ท่านพระสารีบุตรเถระจึงรีบไปพบท่านธนัญชานีพรหมในพรหมโลกทันที
แล้วแสดงธรรมสอนวิปัสสนาภาวนา ซึ่งสามารถนำผู้ปฏิบัติให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ ธนัญ
ชานีพรหมก็กำหนดภาวนาด้วยตนเองแล้วได้เห็นแจ้งในพระอริยมรรคก็กำหนดภาวนาด้วยตนเอง
แล้วได้เห็นแจ้งในพระอริยมรรคและบรรลุพระนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงเป็นการไม่สมควรที่เรา
(พระอาจารย์มหาสีสะยาดอ) จะหยุดการบรรยายของเราไว้แต่เพียงกล่าวถึงเมตตาภาวนา คือการ
ปฏิบัติที่สามารถนำผู้ปฏิบัติให้บรรลุฌานแล้วไปเกิดในพรหมโลกเท่านั้น แต่เราจะพูดถึงวิปัสสนา
คือ การปฏิบัติซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้บรรลุผล และ พระนิพพานด้วย
8
วิปัสสนาภาวนา
วิปัสสนา คือการกำหนดภาวนาซึ่งความเกิดขึ้นและความดับไปของอุปาทานขันธ์ ๕ และรู้
ว่าอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา อุปาทานคือความยึดมั่น ซึ่ง
ประกอบด้วยตัณหา คือความอยากได้ และทิฐิ คือความเห็นผิด ได้แก่ ความเห็นว่ามีอัตตา เป็นสิ่งที่
มีชีวิต มีตัวตนอยู่ รูปขันธ์และนามขันธ์เหล่านี้ ก็แสดงตัวสัมผัสถูกต้อง และปรากฏชัดแจ้งขึ้นมา
ถ้าเราไม่กำหนดอุปาทานขันธ์เหล่านั้น เมื่อมันแสดงตัวปรากฏขึ้นมา และไม่รู้จักมันตาม
เป็นจริง คนเราก็จะยึดถือผิด ๆ ว่าอุปาทานขันธ์เหล่านั้นเป็นของยั่งยืน เป็นสิ่งมีสุข เป็นของดี มี
อัตตาตัวตน และยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาและทิฐิ เพื่อเราจะไม่พึงยึดขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น เราจะต้อง
กำหนดรู้สิ่งไร ๆ ทั้งที่เป็นรูปหรือเป็นนาม ซึ่งปรากฏขึ้นมาเมื่อเราเห็น หรือได้ยินได้ฟัง เป็นต้น เรา
ต้องทำอย่างไร ?
ในพระสติปัฏฐานสูตร ท่านสอนให้เราสังเกตกำหนดความเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น
การเดิน การยืน การนั่ง การนอน เป็นต้น และกำหนดรู้ไปด้วยว่า “เดินหนอ ๆ” “ยืนหนอ ๆ” “นั่ง
หนอ ๆ” เป็นต้น ความรู้สึกยินดีพอใจและความรู้สึกไม่ยินดีไม่พอใจก็เหมือนกัน ท่านสอนให้เรา
กำหนดรู้ไปด้วยว่า “รู้สึกพอใจหนอ ๆ” หรือ “ดีหนอ ๆ” หรือ “รู้สึกไม่พอใจหนอ ๆ” หรือ “ไม่ดี
หนอ ๆ” เป็นต้น จิตใจหรือความคิดทั้งหลายก็เหมือนกัน ท่านสอนให้เรากำหนดรู้ว่า “จิตมีราคะ
หนอ ๆ” “จิตมีโทสะหนอ ๆ” หรือว่า “จิตไม่มีโทสะหนอ ๆ” เป็นต้น ธรรมคืออารมณ์ที่เกิดขึ้นกับ
จิตก็เหมือนกัน ท่านสอนให้เรากำหนดรู้ด้วย บรรดาธรรมทั้งหลายนี้ ... รูปคือดวงตาหนึ่ง อารมณ์
คือสิ่งที่ได้เห็นหนึ่ง วิญญาณแห่งการเห็นหนึ่ง มันจะแสดงตัวปรากฏขึ้นมาเมื่อท่านดูท่านเห็น
เพราะฉะนั้นเมื่อท่านเห็นท่านพึงกำหนดว่า “เห็นหนอ ๆ” เมื่อท่านได้ยินก็เหมือนกัน ท่านพึง
กำหนดว่า “ได้ยินหนอ ๆ” ดังนี้เป็นต้น ถึงแม้ควรกำหนดมันอย่างเต็มที่ว่า “ข้าพเจ้ากำลังเห็นหนอ
ๆ” หรือว่า “ข้าพเจ้ากำลังได้ยินอยู่หนอ ๆ” ดังนี้ เป็นต้น
แต่เพื่อให้การกำหนดสิ้นสุดลงโดยเร็วทันกับอารมณ์ เราจึงสอนบรรดาศิษย์ทั้งหลายของ
เราให้กำหนดสั้น ๆ ทันอารมณ์ว่า “เห็นหนอ ๆ” “ได้ยินหนอ ๆ” เป็นต้น
ถ้าขาดการกำหนดและไม่รู้สิ่งเหล่านั้นตามเป็นจริงเมื่อท่านพบเห็นหรือได้ยินได้ฟัง ราคา
คือความยินดีพอใจในสิ่งทั้งหลายที่ได้เห็น หรือในเสียงทั้งหลายที่ได้ยินได้ฟังก็อาจเกิดขึ้นมา หรือ
โทสะคือ ความโกรธเคืองไม่พอใจ หรือกิเลสพวกเดียวกันนี้ อาจเกิดขึ้นได้ และสืบเนื่องจากกิเลส
เหล่านี้ การกระทำที่เป็นกุศลและอกุศลทั้งหลายก็เกิดขึ้นติดตามมา เพราะการกระทำทั้งหลาย
ดังกล่าวนี้ ท่านอาจไปบังเกิดในอบายภูมิหรืออาจเกิดเป็นมนุษย์ หรือเกิดเป็นเทวดาก็ตาม และได้รับ
ทุกข์ด้วยความแก่ ด้วยความเจ็บป่วย ด้วยความตายหรือทุกข์ทั้งหลายอื่นเช่นเดียวกันนี้ เพราะฉะนั้น
บุคคลผู้ซึ่งขาดการกำหนดภาวนา สิ่งเป็นรูปและนาม ซึ่งเกิดปรากฏอยู่และไม่รู้รูปและนามนั้น
ตามที่มันเป็นจริง เขาเป็นผู้อยู่ห่างไกลพระนิพพาน เรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ในมาลุ
งกยะปุตตะสูตร
9
ท่านผู้สร้างนิสัยให้คุ้นเคยอยู่กับการกำหนดสิ่งไร ๆ ที่ตนเห็นหรือได้ยิน แล้วรู้อยู่โดยแจ่ม
แจ้งชัดเจนด้วยตนเองว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงผ่านมา แล้วก็ผ่านไป มิได้หยุดคงที่สักขณะเดียว และรู้
ชัดว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นแต่เพียงปรากฏการณ์ทางใจและกายที่
ปราศจากตัวตน เมื่อรู้สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นตามที่มันเป็นจริง เขาก็ไม่ปล่อยโอกาสให้กิเลสทั้งหลาย
เช่น ราคะ-ความยินดีพอใจต่อสิ่งทั้งหลายที่ได้เห็น โทสะ-ความโกรธเคืองต่อสิ่งเหล่านั้น เป็นต้น
เกิดขึ้นมา กิเลสทั้งหลายนั้น ๆ ก็จะถูกกระทำให้สงบไปในตัวเขา ครั้งปราศจากกิเลสทั้งหลายแล้ว
เขาก็เป็นผู้พ้นจากการกระทำทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล เพราะฉะนั้น เขาพ้นแล้วจากอบายภูมิ
และพ้นแล้วจากการเกิดใหม่ในโลกมนุษย์และในโลกเทวดาที่จะต้องรับทุกข์ด้วยความแก่ ความเจ็บ
ไข้และความตาย นี้เป็นวิธีที่บุคคลเราได้รับความสงบและความรอดพ้น ด้วยการกำหนดภาวนาของ
ตนเอง
ครั้งทำวิปัสสนาภาวนานี้ ซึ่งนำไปสู่ความรอดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น ให้เจริญพัฒนาโดย
สมบูรณ์แล้ว ผู้ปฏิบัติจะรู้เห็นพระนิพพานโดยประจักษ์ ด้วยพระอรหัตตมรรคญาณและพระ
อรหัตตผลญาณ และในที่สุด ท่านผู้รู้เห็นพระนิพพานด้วยพระอรหัตตมรรคและพระอรหัตตผลก็ถึง
ที่สุดทุกข์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น ท่านผู้กำหนดภาวนปรากฏการณ์ทางรูปและนามซึ่งปรากฏอยู่ เมื่อ
ได้เห็นหรือได้ยิน ได้ฟัง เป็นต้น ก็เข้าใจมันตามที่มันเป็นจริง เขาผู้นี้เป็นผู้ที่อยู่ใกล้พระนิพพาน ซึ่ง
เป็นที่สุดของทุกข์ เรื่องนี้พระผู้มีพระภาพเจ้าทรงอธิบายไว้ในมาลุงกยปุตตสูตร เช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ สิ่งไร ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านทางทวาร หรือประสาททั้ง ๖ เช่น การเห็น หรือการได้ยิน
เป็นต้น เราต้องกำหนดรู้ว่า “เห็นหนอ ๆ” “ได้ยินหนอ ๆ” แต่สำหรับผู้แรกเริ่มปฏิบัติ การที่จะ
กำหนดรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราต้องเริ่มต้นสิ่งที่เราสามารถ
เห็นได้ง่าย ๆ เพียง ๒-๓ อย่างก่อน และเฉพาะในเวลาเมื่อเราสามารถทำสมาธิให้เจริญพัฒนาขึ้น
โดยคล่องตัวเท่านั้น จึงสามารถทำวิปัสสนาญาณให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ๆ ได้
วิธีเริ่มแรกปฏิบัติ
ทุกครั้งที่ท่านหายใจเข้าและหายใจออก ท้องของท่านจะเคลื่อนไหว และอาการพองขึ้นกับ
อาการยุบลงของท้องนั้นจะชัดเจน และกำหนดรู้ได้ง่ายมาก เพราะเหตุฉะนี้เราจึงสอนบรรดาศิษย์
ทั้งหลายของเราให้ตั้งต้นกำหนดภาวนาด้วยวิธีนี้ คือเมื่อท้องพองขึ้นให้กำหนดว่า “พองหนอ” และ
เมื่อท้องยุบแฟบลง ก็กำหนดว่า “ยุบหนอ” อาการพองและยุบนี้เป็น วาโยธาตุ คือธาตุลม หรือธาตุ
เคลื่อนไหว คำว่าพองและยุบ ไม่สำคัญอะไรเลย เป็นจุดที่ให้พิจารณาเห็นความเคลื่อนไหวของรูป
เท่านั้น
หากว่า ขณะกำลังกำหนดอาการพอง-ยุบของท้องอยู่นั้น มีความคิดหรือนึกเห็นใด ๆ
เกิดขึ้น จงกำหนดว่า “คิดหนอ ๆ” หรือ “นึกหนอ ๆ” นี้เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ สติเข้าไป
ตั้งติดตามดูจิตหรือความนึกคิด
10
ถ้าความเจ็บปวดเกิดขึ้นในร่างกาย ท่านต้องกำหนดว่า “เจ็บหนอ ๆ” หรือ “ปวดหนอ ๆ” นี้
เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ สติเข้าไปตั้งติดตามดูเวทนา หรือความรู้สึกเสวยอารมณ์ ครั้ง
แล้วพึงกำหนดกลับไป “พองหนอ – ยุบหนอ” ตามเดิม
ถ้ามีอาการงอหรือการเหยียดอวัยวะ เช่น “มือ” แขน เท้า ขาใด ๆ ท่านต้องการกำหนดด้วย
ว่า “คู้หนอ ๆ” “เหยียดหนอ ๆ” มีความเคลื่อนไหวทางกายไร ๆ ก็ตามเกิดขึ้น ท่านต้องกำหนดมัน
ด้วย เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือสติปัฏฐาน คือสติเข้าไปตั้งติดตามดูกาย
เมื่อท่านเห็นท่านต้องกำหนดว่า “เห็นหนอ ๆ” เมื่อท่านได้ยิน ท่านต้องกำหนดว่า “ได้ยิน
หนอ ๆ” นี้เป็นธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ สติเข้าไปตั้งติดตามดูธรรม ได้แก่ อารมณ์กับจิต
นี้เป็นวิธีฝึกใจให้อยู่ในแวดวงของสติปัฏฐาน
ถ้าท่านกำหนดภาวนาอยู่ ณ สิ่งใด ๆ ที่มันเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ สมาธิของท่านก็จะเข้มแข็ง
แก่กล้ายิ่งขึ้น ครั้นแล้วท่านก็จะรู้เห็นความแตกต่างกันระว่าง รูป- สิ่งที่ถูกกำหนดรู้ และนาม-สิ่งที่
เป็นผู้กำหนดรู้ แล้วท่านก็จะรู้ถึงการที่เหตุเป็นสิ่งนำมาซึ่งผล และรู้ถึงการที่เหตุและผลนี้มี
ความสัมพันธ์ดำเนินเกี่ยวเนื่องกันอยู่ ท่านก็จะรู้ถึงการที่สิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นและดับไป และเกิดแล้ว
ดับไป ในขณะนั้นท่านก็เห็นได้ชัดแจ้งด้วยตัวท่านเองว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดมาแล้วดับไป ๆ มิได้
คงอยู่แม้ชั่วขณะเดียว เพราะฉะนั้นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง ความตายอาจมาถึงท่านขณะ
ใดก็ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจึงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ของมันเอง เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจึงเป็นอนัตตา ความรู้สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเป็นวิปัสสนา
ญาณ เมื่อท่านกำหนดภาวนาอยู่อย่างนี้ และเมื่อวิปัสสนาญาณของแห่งพระอริยผลก็มาถึงท่าน ณ
ตรงนี้ ถ้าท่านบรรลุมรรคญาณและผลญาณเพียงขั้นต่ำสุดคือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ท่านก็
เป็นผู้พ้นแล้วตลอดไปจากอบายภูมิทั้ง ๔ ท่านจะเปิดใหม่ในชีวิตชั้นสูงและมีความสุขอยู่ในมนุษย์
โลกและเทวโลกภายใน ๗ ชาติแห่งชีวิตอันมีความสุขนี้ ท่านจักบรรลุพระอรหัตตมรรคและพระ
อรหัตตผล เป็นพระอรหันต์ ภายหลังที่พระอรหันต์ปรินิพพาน คือ ตายไปแล้วจะไม่มีการเกิดใหม่
ไม่มีรูปใหม่และไม่มีนามใหม่
เพราะฉะนั้น โดยการกำหนดภาวนารูปธรรมและนามธรรมที่เกิดขึ้น เริ่มด้วยการกำหนด
พอง-ยุบและทำความเพียรพยายามไป ท่านจะมีวิปัสสนาญาณเกิดขึ้น ซึ่งรู้เห็นธรรมชาติอันไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ และไม่มีอัตตาของรูปและนามทั้งหลาย และท่านอาจบรรลุพระอริยมรรค พระอริยผลและ
พระนิพพานทันทีทันใดก็ได้ สาธุ สาธุ สาธุ

No comments: